วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บุคคลสำคัญของชาติไทย

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ



สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงที่มีพระปรีชาสามารถและพระมหากรุณาธิคุณแก่พสกนิการชาวไทยอย่างล้นเหลือ โดยเฉพาะในระหว่างที่บ้านเมืองกำลังอยู่ในช่วงพัฒนาและเปลี่ยนแปลง ทรงเป็นพระกำลังสำคัญในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ในการพัฒนาบ้านเมืองให้ได้รับความเจริญก้าวหน้าทั้งด้านการปกครอง การศึกษาและการสาธารณูปโภคอื่นๆ ทั้งยังทรงเป็นผู้มีความสามารถในหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการปกครอง การพัฒนา การศึกษา การบริหาร โดยเฉพาะด้านประวัติศาสตร์ ทรงนิพนธ์หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไว้มากมายกว่า ๖00 เล่ม ทำให้ทรงได้รับการยกย่องให้เป็น “พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย” นอกจากนี้ยังเป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ให้กำเนิดกิจการหลายอย่าง เช่น กิจการมหาดไทย ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ การศึกษา สาธารณสุข ทรงก่อตั้งโรงพยาบาล ส่วนในท้องถิ่นที่ห่างไกลทรงริเริ่มก่อตั้งโอสถศาลา หรือสถานีอนามัยในปัจจุบัน อีกทั้งทรงก่อตั้งกรมพยาบาล จนมีความก้าวหน้าและพัฒนาเป็นกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบัน นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในทุกรัชกาลที่ทรงรับราชการถวายสนองพระเดชพระคุณอีกด้วย
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๕๓ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ และเจ้า
จอมมารดาชุ่ม


ประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔0๕
เนื่องจากในขณะนั้นการศึกษาของไทยยังไม่มีระเบียบแบบแผนดังเช่นในปัจจุบันซึ่งต่อมาสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นพระองค์หนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการวางรากฐาน และการพัฒนากินการด้านการศึกษาให้มีระเบียบแบบแผนดังเช่นในปัจจุบันนี้ ส่วนการศึกษาในขณะนั้นส่วนใหญ่ยังคงเล่าเรียนกันตามวัด หรือสำนักของเจ้านายต่างๆ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพก็ได้รับการศึกษาเช่นเดียวกันพระโอรสองค์อื่นในขณะนั้น โดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเข้ารับการศึกษาขั้นต้นจากสำนักคุณแสง และคุณปาน ราชนิกูลเก่าในพระบรมมหาราชวัง ภาษาบาลีจากสำนักพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) และหลวงธรรมนุวัติจำนง (จุ้ย) และภาษอังกฤษจากสำนักโรงเรียนหลวง ซึ่งมีนายยอร์ช แปตเตอร์สัน (Mr. Francis George Patterson) เป็นอาจารย์ ต่อมาทรงเข้าศึกษาวิชาการทหารในสำนักหลวงรัดรณยุทธ์ (เล็ก) ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗ ทรงเข้าพิธีโสกันต์ตามโบราณราชประเพณี จากนั้นในปีต่อมาทรงบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และผนวชเป็นพระภิกษุในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นได้ประทับจำพรรษาที่วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม และได้ประทับจำพรรษาที่วัดนิเวศธรรมประวัติ พระราชวังบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา
หลังจากที่ได้รับการศึกษาจนมีความรู้ความสามารถพอสมควร เมื่อพระชนมายุ ๑๔ พรรษ ได้ทรงเข้ารับราชการครั้งแรกในกองทัพบก โดยการเข้าศึกษาในฐานะนักเรียนนายร้อย และได้รับพระราชทานยศนายร้อยตรีทหารมหาดเล็กบังคับกองแตรวง แม้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เข้าทำงานในตำแหน่งทหารชั้นผู้น้อย แต่ก็มิได้ทรงรังเกียจแม้จะเป็นราชนิกูลชั้นสูงก็ตาม จากนั้นทรงได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเรื่อยๆ โดยต่อมาทรงได้รับพระราชทานตำแหน่งผู้บังคับการทหารม้า, ผู้บังคับการมหาดเล็กรักษาพระองค์, ผู้ช่วยผู้บังคับการทหารบก ตามลำดับ หลังจากที่ทรงเข้ารับราชการจนมีความชำนาญ และประสบการณ์พอสมควร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพมาช่วยงานด้านพลเรือน ด้วยในขณะนั้นเป็นช่วงที่บ้านเมืองต้องการการพัฒนาอย่างมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงต้องการบุคคลผู้มีทั้งความสามารถฉลาดหลักแหลม ซึ่อสัตย์จงรักภักดีเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยในการปฏิบัติภารกินที่สำคัญ และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพก็เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตำแหน่งทางพลเรือนที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้รับมอบหมายเป็นตำแหน่งแรกคือ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ ข้าราชการกรมธรรมการ จากนั้นในปีต่อมาทรงได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศึกษาธิการ ทรงรับราชการจนเป็นที่พอพระทัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย โดยทรงเป็นเสนาบดีพระองค์แรกของกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากประชวรจนพระวรกายทรุดโทรมอย่างมาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีที่ปรึกษากระทรวงมหาดไทย เมื่อทรงรักษาพระอาการจนพระวรกายเป็นปกติดีแล้ว ทรงเข้ารับราชการอีกครั้งหนึ่งในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร แต่ต่อมาในรัชการพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงทูลเสนอให้ยุบเลิกกระทรวงมุรธรธรนี้เสีย ด้วยไม่มีความจำเป็นมากนัก ซึ่งได้ทรงเห็นชอบตามที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทูลเสนอไป
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงก่อตั้งราชบัณฑิตยสถานขึ้น โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสถานพระองค์แรก ราชบัณพิตยสถานมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานหอสมุด พระนคร และพิพิธภัณฑสถาน จากความดีความชอบในราชการที่ทรงปฏิบัติมาตลอดพระชนม์ชีพ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ทรงได้รับพระราชทานพระอิสสริยยศของพระบรมวงศ์ต่างกรมเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งถือได้ว่าเป็นพระอิสสริยยศที่สูงที่สุดของพระบรมวงศานุวงศ์
หลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ไปประทับที่เกาะปีนัง เพื่อนหลีกเลี่ยงความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้เสด็จกลับประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากประชวรด้วยโรคพระหทัยพิการและเข้าประทับรักษาพระองค์ ณ พระตำหนักวังวรดิศ ถ. หลานหลวง เพื่อรักษาพระอาการ แต่พระอาการไม่ดีขึ้นและทรุดหนักลงเรื่อยๆ จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ รวมพระชนมายุได้ ๘๑ พรรษา
ในปี พ.ศ. ๒๕0๕ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ( UNESCO) ได้ยกย่องสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพให้เป็นบุคคลสำคัญระดับโลก เนื่องจากพระนิพนธ์ด้านประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังทรงเป็นบุคคลไทยคนแรกที่ได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติด้วย


บุคคลต่างชาติที่ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศไทย

หมอ บรัดเลย์


หมอบรัดเลย์ หรือ แดน บีช แบรดลีย์ (Dan Beach Bradley, M.D.) หรือบางคนเขียนเป็น หมอบรัดเลหมอปลัดเล หมอปรัดเล หรือ หมอปรัดเลย์ เป็นนายแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 3 และยังเป็นผู้เริ่มต้นการพิมพ์อักษรไทยในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และทำการผ่าตัดในประเทศไทยเป็นครั้งแรก

แดน บีช บรัดเลย์ เป็นชาวเมืองมาร์เซลลัส (Marcellus) เกิดเมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2347 บุตรคนที่ห้าของนายแดน บรัดเลย์และนางยูนิช บีช บรัดเลย์ สำเร็จการแพทย์จาก มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สมรสกับภรรยาคนแรก เอมิลี รอยส์ บรัดเลย์ และภรรยาคนที่สอง ซาราห์ แบลคลี บรัดเลย์

คนไทยกับคนอเมริกันได้พบเห็นหน้าอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อในรัชกาลที่ ๓ ในครั้งนั้นประธานาธิบดีแย็กสัน (Andrew Jackson) ได้แต่งตั้งให้เอมินราบัดหรือ เอดมันด์ รอเบิต (Edmond Roberts) เป็นทูตขี่เรือกำปั่นเข้ามาทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้าขายเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ (ภายหลังประเทศอังกฤษ) และต่อจากนั้น ๓ ปี หมอบรัดเลย์ก็นั่งเรือใบเข้ามา

หมอบรัดเลย์เป็นคนเมืองมาร์เซลลุส (Marcellus) ในมลรัฐนิวยอร์ก เป็นเมืองที่บิดามารดามาตั้งครอบครัวอยู่หลังจากอพยพมาจากนิวฮาเวน (New Haven) บิดาชื่อ แดน บรัดเลย์ มีอาชีพเป็นศาสนาจารย์, เกษตรกร, ผู้พิพากษา และบรรณาธิการวารสารทางเกษตรกรรม มารดาชื่อ ยูนิซ บีช บรัดเลย์ (Eunice Beach Bradley) เมื่อนางให้กำเนิดหมอบรัดเลย์เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ แล้ว นางก็สิ้นชีวิตในวันต่อมา หมอบรัดเลย์เป็นบุตรคนที่ ๕ ชื่อแรกมาจากชื่อของบิดาคือ แดน และชื่อกลางมาจากชื่อสกุลมารดาคือ บีช รวมเป็นแดน บีชบรัดเลย์

ต่อมาบิดาของท่านได้แต่งงานใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ ท่านจึงได้รับการเลี้ยงดูจากมารดาเลี้ยง และมีน้องที่เกิดจากแม่คนใหม่อีก ๕ คน แม้กระนั้นก็ได้ให้ความรักความเมตตาแก่ท่านเป็นอย่างดี ทำให้ไม่รู้สึกว้าเหว่แต่อย่างใด

ท่านเป็นคนชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่เป็นเด็ก จึงอาจเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ท่านสนใจในการพิมพ์หนังสือในสมัยต่อมา และอยากให้คนไทยอ่านหนังสือกันมาก ๆเผอิญสิ่งแวดล้อมในอเมริกาครั้งนั้นเป็นผลดีแก่เมืองไทย ที่จะได้คนดีอย่างหมอบรัดเลย์เข้ามา คือในสมัยนั้นทางฝ่ายเผยแผ่ศาสนาคริสต์มีความต้องการมิชชันนารีที่เป็นแพทย์จำนวนมาก หมอบรัดเลย์จึงได้ตัดสินใจเข้าศึกษาวิชาแพทย์แทนที่จะทำงานทางศาสนา และเนื่องจากขณะนั้นสุขภาพไม่ค่อยดี ในระยะแรกท่านจึงศึกษากับนายแพทย์โอลิเวอร์ (Dr. A.F. Oliver) ที่เมือง Penn Yan แบบตามสบายเพื่อรอให้สุขภาพดีขึ้นเมื่ออยู่ในวัยรุ่น ท่านมีข้อบกพร่องอยู่อย่างหนึ่งคือพูดติดอ่าง ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการเผยแผ่ศาสนาที่จะต้องพูดหรือบรรยายธรรม ฉะนั้นท่านจึงต้องรีบแก้ไขโดยการเข้ากลุ่มฝึกพูด ซึ่งก็เป็นผลดี

ในหนังสือ ๕๐ ปีโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน นายแพทย์คทาวุธ โลกาพัฒนา ได้กล่าวถึงการเรียนวิชาแพทย์ของหมอบรัดเลย์ไว้ตอนหนึ่งว่า

"การศึกษาวิชาแพทย์ในสมัยนั้นเป็นการศึกษาแบบปฏิบัติกับแพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ จนกระทั่งมีประสบการณ์เพียงพอจึงจะสอบเพื่อรับปริญญา ท่านเคยไปฟังบรรยายทางการแพทย์ที่ Harvard ในปี ค.ศ. ๑๘๓๐ และกลับไปฝึกปฏิบัติงานการแพทย์สลับกับการเป็นครูในหมู่บ้าน เมื่อสะสมเงินได้เพียงพอ จึงไปที่โรงเรียนแพทย์ในกรุงนิวยอร์กเพื่อเรียนและสอบได้ปริญญาแพทย์ในเดือนเมษายนค.ศ. ๑๘๓๓

ระหว่างอยู่ในนิวยอร์กยังได้ปฏิบัติงานหาความชำนาญ และระหว่าง ๒ ปีนั้นอหิวาตกโรคกำลังระบาดอยู่ในนิวยอร์ก โดยระบาดมาจากเมืองควิเบก ขณะศึกษาอยู่ในนิวยอร์กได้สมัครเป็นแพทย์มิชชันนารีกับ ABCFM (American Board of Commissioners of Foreign Missions) เพื่อทำงานในอาเซีย

ที่นิวยอร์ก หมอบรัดเลย์ได้รู้จักกับบุคคลสองคนซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตในระยะต่อมา คนแรกคือ Charles Grandison Finneyซึ่งเป็นนักเทศน์และอาจารย์จาก Oberlin College มีความเชื่อว่า มนุษย์ควรจะดำรงชีวิตโดยไม่มีบาป คือดำรงชีวิตของตนเช่นเดียวกับพระคริสตเจ้า ความเชื่อนี้มีผลต่อการปฏิบัติงานของหมอบรัดเลย์ในเมืองไทย คนที่สองคือ Reverend Charles Eddy แห่งคณะ ABCFM ซึ่งแนะนำว่าการทำงานมิชชันนารีในต่างแดนควรจะมีผู้ช่วย"

ในที่สุดหมอบรัดเลย์ได้เข้าศึกษาที่ College of Physicians ที่เมืองนิวยอร์ก และได้รับปริญญา Doctor of Medicine เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๘๓๓ (พ.ศ. ๒๓๗๖) พร้อมที่จะเป็นมิชชันนารีต่อไป

ในช่วงเวลาที่หมอบรัดเลย์เกิดจนถึงรุ่นหนุ่ม สังคมอเมริกันได้เกิดความเคลื่อนไหวที่สำคัญซึ่งมีอิทธิพลต่อแนวความคิดและวัฒนธรรมอเมริกัน คือการฟื้นสำนึกทางศาสนาครั้งใหญ่ เป้าหมายสำคัญคือการฟื้นฟูหลักธรรมของศาสนาคริสต์โปรเตสแตนต์ โดยมีการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านอบายมุข การเคลื่อนไหวเพื่อการเลิกทาส และการรณรงค์เพื่อเดินทางออกไปเผยแพร่ศาสนายังประเทศต่างๆทั่วโลก การฟื้นสำนึกทางศาสนาที่มีอิทธิพลต่อหมอบรัดเลย์โดยตรง หมอบรัดเลย์ในวัยหนุ่มตั้งใจจะศึกษาทางด้านอักษรศาสตร์ แต่ต้องประสบปัญหาทางด้านการพูดออกเสียงและมีอายุมากเกิน จึงต้องเบนเข็มเข้าเรียนทางด้านการแพทย์แทน โดยเริ่มเข้าศึกษาชั้นต้นกับคลินิกแพทย์คนหนึ่งที่ออเบิ์รน แต่ต้องพักการเรียนระยะหนึ่งเนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ ต่อมาเมื่อสุขภาพแข็งแรงแล้วก็คิดจะเรียนต่อทางด้านศาสนา เพื่อเป็นผู้สอนศาสนา แต่ก็ต้องประสบปัญหาทางด้านการเงินและอายุอีก จึงหันกลับมาเรียนต่อ ทางด้านการแพทย์อีกครั้ง โดยมุ่งหวังว่าจะทำให้สามารถทำงานเผยแพร่ศาสนาได้ ในที่สุด หมอบรัดเลย์ก็เรียนสำเร็จ ได้รับปริญญาทางการแพทย์จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ในปี 2376


เมื่อได้ปริญญาทางการแพทย์แล้วหมอบรัดเลย์จึงสมัครเป็นมิชชันนารี กับคณะ เอ บี ซี เอฟ เอ็ม (American Board of Commissioner Foreign Mission) คือคณะมิชชันนารีเพื่อพันธกิจต่างชาติ หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า "คณะอเมริกันบอร์ด" คณะอเมริกันบอร์ดอนุมัติให้หมอบรัดเลย์เดินทางมาเผยแผ่ศาสนาในเอเชียได้ จุดหมายปลายทางคือ ประเทศสยาม ซึ่งกำลังเป็นที่รู้จัก ตามธรรมเนียมของการเดินทางมายังประเทศห่างไกลเช่นนี้ มิชชั่นนารีจำเป็นต้องมีคู่แต่งงานเดินทางมาด้วย หมอบรัดเลย์จำเป็นต้องหาผู้หญิงที่พร้อมจะเป็นคู่ชีวิตและยอมเป็นคู่ชีวิตและยอมเดินทางไปทำงานไกลบ้านเกือบครึ่งโลกด้วยความเต็มใจ ไม่นานหมอบรัดเลย์ก็ได้พบผู้หญิงคนนั้น เธอคือ เอมิลี่ รอยซ์

1 กรกฎาคม 2377 หมอบรัดเลย์ออกเดินทางจากบอสตันมุ่งหน้าสู่สยาม โดยเรือ "แคชเมียร์" ใช้เวลารอนแรมในทะเลเป็นเวลา 6 เดือน หมอบรัดเลย์ก็มาถึงสิงคโปร์ในวันที่ 12 มกราคม 2378 และแวะพักอยู่ที่สิงค์โปร์อีก 6 เดือน ก่อนจะเดินทางเข้าสู่สยามในวันที่ 18 กรกฎาคม 2378 เป็นวันเกิดปีที่ 31 ปีพอดี

เมื่อมาถึงสยามหมอบรัดเลย์ได้อาศัยพักรวมอยู่กับครอบครัวของศาสนาจารย์สตีเฟน จอห์นสัน ที่ย่านวัดเกาะ โดยมีเป้าหมายเพื่อเผยแผ่ศาสนากับชุมชนชาวจีนก่อนเป็นลำดับแรก ที่บ้านพักย่านวัดเกาะนี้ หมอบรัดเลย์ได้เปิดโอสถสถาน ขึ้น เพื่อทำการรักษา จ่ายยา และหนังสือเกี่ยวกับศาสนาให้กับคนไข้

แต่ไม่นานกิจการนี้ก็ถูกเพ่งเล็ง ว่าอาจทำให้ชาวจีนกระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาลสยามได้ จึงมีการกดดันเจ้าของที่ดินคือนายกลิ่นไม่ให้มิชชันนารีเช่าที่ต่อไปอีก หมอบรัดเลย์จึงต้องย้ายมาเช่าที่ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ที่บริเวณหน้าวัดประยูรวงศาวาส เป็นที่ทำการแห่งใหม่


ที่อยู่แห่งใหม่นี้เองที่หมอบรัดเลย์ได้ทำการผ่าตัดครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การแพทย์ของไทย คือการตัดแขนพระภิกษุรูปหนึ่งที่ได้รับอุบัติเหตุจากกระบอกบรรจุดินดำทำพลุแตกในงานฉลองที่วัดประยูรวงศาวาส หมอบรัดเลย์ต้องตัดแขนพระภิกษุรูปนี้เพื่อรักษาชีวิตไว้ ทางการแพทย์ถือว่าเป็นการผ่าตัดแผนปัจจุบันครั้งแรกของไทย เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2380

ผลงานชิ้นสำคัญทางการแพทย์อีกเรื่องหนึ่งคือ การริเริ่มปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ เป็นผลสำเร็จครั้งแรกในเมืองไทยทำให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเงินจำนวนหนึ่งเพื่อช่วยเหลือในการหาซื้อเชื้อหนองฝีโค ซึ่งต้องสั่งนำเข้าจากสหรัฐอเมริกามาใช้เพื่อปลูกฝีให้ชาวสยาม และยังทรงให้แพทย์หลวงมาศึกษาวิธีการปลูกฝีจากหมอบรัดเลย์เพื่อขยายการปลูกฝีให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นในประเทศไทย

หลังจากที่หมอบรัดเลย์ประสบความสำเร็จอย่างมากในทางการแพทย์ก็เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในบางกอก แต่นั่นกลับไม่ช่วยให้กิจกรรมทางด้านศาสนาประสบความสำเร็จไปด้วย ตลอดชีวิตของหมอบรัดเลย์ในสยามซึ่งกินเวลาเกือบ 40 ปีนั้น ทำให้กลับใจเปลี่ยนศาสนาได้ไม่กี่คน หรือเรียกว่าล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง แม้ว่าทุกสิ่งที่หมอบรัดเลย์ทำนั้นล้วนแต่เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางศ่าสนาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการแพทย์หรือการพิมพ์ก็ตาม

ส่วนงานที่หมอบรัดเลย์ทำและพัฒนาขึ้นตลอดเวลาคือ การพิมพ์ สิ่งที่น่าสนใจในงานพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ก็เป็นเครื่องมือสำคัญในการเผยแผ่ศาสนา เป็นสิ่งสนับสนุนทางการแพทย์ และยังเป็นรายได้เพื่อจุนเจือครอบครัวอีกด้วย


การพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ในสยามเริ่มต้นขึ้นเมื่อหมอบรัดเลย์เดินทางจากสิงคโปร์มาสยามและได้ซื้อตัวพิมพ์อักษรไทยและแท่นพิมพ์ไม้ติดตัวมาด้วยตัวพิมพ์และแท่นพิมพ์ไม้ชุดแรกที่เข้าสู่สยามพร้อมกับหมอบรัดเลย์ถูกนำมาตั้งเป็นโรงพิมพ์ขึ้นที่ตรอกกัปตันบุช อันเป็นที่ตั้งของคณะ เอ บี ซี เอฟ เอ็ม และได้ดำเนินการพิมพ์ใบปลิว หนังสือต่างๆในระยะแรก ตัวพิมพ์และแท่นพิมพ์ไม้นี้หมอบรัดเลย์กล่าวถึงไว้ว่า เป็นสิ่งที่อัปลักษณ์มาก

จนกระทั่งในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2379 โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์จึงได้รับแท่นพิมพ์ใหม่ที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น ยี่ห้อโอติส และสแตนดิ้ง ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญต่อประวัติศาสตร์การพิมพ์สยาม เพราะทำให้ประสิทธิภาพในการพิมพ์สูงขึ้น และสวยงามขึ้นอย่างมาก

หมอบรัดเลย์ได้ให้กำเนิดสิ่งพิมพ์ฉบับแรกที่พิมพ์ขึ้นในประเทศคือ หนังสือบัญญัติสิบประการ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2379 หลังจากนั้นกิจการโรงพิมพ์ภายใต้การดูแลของหมอบรัดเลย์ก็เริ่มต้นพิมพ์เกี่ยวกับศาสนาออกมาอีกมากมาย

ต่อมาในปี 2382 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์พิมพ์ประกาศห้ามสูบฝิ่นจำนวน 9,000 ฉบับ นับเป็นสิ่งตีพิมพ์เอกสารทางราชการฉบับแรกในประวัติศาสตร์สยาม และถือเป็นหมายสำคัญว่ายุคแห่งการคัดด้วยลายมือกำลังจะหมดไป เป็นการเริ่มต้นยุคสมัยแห่งการพิมพ์สยาม

ในที่สุดพัฒนาการของการพิมพ์ในสยามก็มาถึงจุดสำคัญที่สุดคือ หมอบรัดเลย์และคณะสามารถหล่อตัวพิมพ์ภาษาไทยขึ้นสำเร็จเป็นครั้งแรกในปี 2384 ตัวพิมพ์ชุดนี้หมอบรัดเลย์ยังได้ทำขึ้นอีกเพื่อทูลเกล้าฯถวายเจ้าฟ้ามงกุฎ สำหรับใช้ที่โรงพิมพ์วัดบวรนิเวศวิหาร

ต่อมาในวันที่ 4 กรกฎาคม 2387 หมอบรัดเลย์ก็ได้ออกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของสยามขึ้นในชื่อว่า หนังสือจดหมายเหตุ บางกอกรีคอเดอ กิจการโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ได้พิมพ์หนังสือออกมาจำนวนมาก โดยเฉพาะในระยะหลังเมื่อหมอบรัดเลย์ได้รับพระราชทานที่ดินให้เช่าบริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ งานพิมพ์ส่วนใหญ่ไม่จำกัดวงเฉพาะงานทางด้านศาสนาอีกต่อไปแต่ได้พิมพ์หนังสือหลากหลายประเภท ทั้งนิยาย ประวัติศาสตร์ กฎหมาย วรรณคดี เพื่อจำหน่ายแก่บุคคลที่สนใจทั่วไป

เกือบ 40 ปีที่อยู่ในสยาม หมอบรัดเลย์ได้ทุ่มเททำงานอย่างหนักตลอดเวลา มีโอกาสเดินทางกลับบ้านเกิดเพียงครั้งเดียว เป็นช่วงเวลาที่ เอมิลี บรัดเลย์ เสียชีวิตลงในสยาม การเดินทางกลับบ้านครั้งนี้กินเวลา 3 ปี คือระหว่างปี 2390-2393 เมื่อกลับมาสยามอีกครั้ง หมอบรัดเลย์ก็มาพร้อมกับภรรยาคนใหม่ คือซาราห์ แบลชลี หลังจากนั้นก็ลงหลักปักฐานอยู่ในสยามจนเสียชีวิตที่นี่ทั้งสองคน หมอบรัดเลย์มีบุตรกับเอมิลี 5 คน และกับซาราห์ 5 คนหมอบรัดเลย์มีชีวิตอยู่ในสยามผ่านเวลามาถึง 3 แผ่นดิน คือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 รัชการที่ 4 และรัชกาลที่ 5 โดยที่ไม่มีโอกาสร่ำรวยและสุขสบายเลย หมอบรัดเลย์เสียชีวิตลงในปี 2416 ขณะมีอายุได้ 69 ปี อนุสรณ์สถานของครอบครัวบรัดเลย์อยู่ที่สุสานโปรเตสแตนท์ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระเจริญกรุง

แต่สิ่งที่เป็นอนุสรณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของหมอบรัดเลย์ต่อชาวไทยก็คือการพิมพ์และการแพทย์ แม้ว่าหมอบรัดเลย์จะไม่ได้รับการยกย่องให้เป็น"บิดา"ทั้งทางด้านการพิมพ์และการแพทย์แผนใหม่ของไทย แต่สิ่งที่หมอบรัดเลย์ได้ริเริ่มบุกเบิกไว้เป็นคนแรกนั้นก็ไม่อาจลบเลือน


ภาพ:Nnnnnnnnnnnn.JPG

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เยาวชนไทยห่างไกลยาเสพติด


เยาวชนไทยห่างไกลยาเสพติด




เยาวชนไทย ไม่ไร้มารยาท



เยาวชนไทย ไม่ไร้มารยาท


องค์กรมรดกโลก



องค์กรมรดกโลก



มรดกโลก World Heritage Site

มรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site; ฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศ โดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้ว เข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม
มรดกโลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้ง อยู่ แต่ได้ถูกพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์ มรดกโลกแห่ง

ประเภทของมรดกโลก
มรดกโลกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และ มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า
มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกัน ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
มรดกทางธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำ เลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์ แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก เป็นต้น

ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกมรดกโลก
ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้น ทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและ วัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการ เสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อ เบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และ สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ (World Conservation Union) แล้วทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถาน ที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐาน ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ

เว็บไซต์ทางการยูเนสโก ระบุผลการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 35 กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลก ปี 2554 ซึ่งเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ และแบบผสม จำนวน 25 แห่ง โดยแบ่งเป็น แหล่งทางวัฒนธรรม 21 แห่ง แหล่งทางธรรมชาติ 3 แห่ง และแบบผสม 1 แห่ง ทำให้ขณะนี้มีแหล่งมรดกโลกที่มีการขึ้นทะเบียนแล้วทั้งหมด 936 แห่ง เป็นวัฒนธรรม 725 แห่ง ธรรมชาติ 183 แห่ง แบบผสม 28 แห่งสำหรับมรดกโลกปี 2554 ทางวัฒนธรรม ได้แก่
1. โบราณคดีของเกาะ Meroe ซูดาน
2. ป้อมปราการราชวงศ์โฮปลายศตวรรษที่ 14 เวียดนาม
3. พื้นที่กาแฟภูมิทัศน์วัฒนธรรมของโคลัมเบีย
4. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของ Serra de Tramuntana สเปน
5. แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของ Al Ain สหรัฐอาหรับเอมิ
6. โรงงาน Fagus เยอรมนี
7. สถาปัตยกรรมในยุคอาณานิคมของอังกฤษ ศตวรรษที่ 18 -19 บาเบร์ดอส
8. Longobards อิตาลี ประกอบด้วย 7 กลุ่มของอาคารที่สำคัญ
9. เสาเข็มยุคก่อนประวัติศาสตร์รอบเทือกเขาแอลป์ ครอบคลุมออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สโลวิเนีย และสวิสเซอร์แลนด์
10. นิเวศวิทยา การประมงและรวบรวมหอยมีชีวิตและการใช้ของมนุษย์อย่างยั่งยืน เซเนกัล
11. สวนเปอร์เซีย อิหร่าน
12. ภูมิทัศน์ทะเลสาบวัฒนธรรมของหางโจว จีน
13. วัดฮิไรซุมิ วัดที่เป็นตัวแทนของพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์ ญี่ปุ่น
14. Konso ภูมิทัศน์วัฒนธรรม เอธิโอเปีย
15. มอมบาซา เคนยา
16. คอมเพล็กซ์มัสยิด Selimiye Edirne ตุรกี
17. ภาพแกะสลักหินและอนุสาวรีย์ศพของวัฒนธรรมในมองโกเลีย อัลไต 12,000 ปีที่ผ่านมา
18. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเกษตรเมดิเตอร์เรเนียน ฝรั่งเศส
19. อนุสาวรีย์แสดงการเปลี่ยนแปลงจากบาร็อคกับสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิค นิคารา
20. สถาปัตยกรรมสไตล์เช็ก ยูเครน
21. หมู่บ้านแบบโบราณในภาคเหนือของซีเรีย
ส่วนแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ
1. นิงกาลูโคสต์ แนวปะการัง ออสเตรเลีย
2. หมู่เกาะโอกาซาวาร่า( Ogasawara) ซึ่งมีเกาะมากกว่า 30 เกาะ รวมความหลากหลายของสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น ค้างคาว ญี่ปุ่น
3. ทะเลสาบเคนยา และแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมแบบผสม ได้แก่ ทะเลทรายวาดิรัม พื้นที่คุ้มครอง จอร์แดน นอกจากนี้ มีพื้นที่ขยายที่ขึ้นทะเบียนอีก 1 แห่ง ป่าไม้บีชดึกดำบรรพ์คลุมเยอรมนี สโลวาเกีย และยูเครน
อย่างไรก็ดตาม คณะกรรมการฯ ได้พิจารณามรดกโลก 2 แห่ง ซึ่งอยู่ในภาวะอันตราย ได้แก่ มรดกป่าฝนในเขตร้อนชื้นของเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย และพื้นที่ลุ่มน้ำของริโอ ฮอนดูรัส

มรดกไทยที่เป็นมรดกโลก

1.อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ
เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
2.อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
3.อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
4.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ
เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทาง ธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะ อันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ ความสนใจด้วย
5.ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2548 สาเหตุที่ได้รับ
เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

สาเหตุที่ไทยถอนตัวจากมรดกโลก

วันนี้ (27มิ.ย.54) เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. เวลาประมาณ 23.50 น. ตามเวลาประเทศไทย นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ประกาศในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ยูเนสโก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ผ่าน ทวิตเตอร์ @Suwit_Khunkitti ระบุว่า น่าเสียดายนะครับที่หน่วยงานนานาชาติที่มีภารกิจส่งเสริมการศึกษาและ วัฒนธรรม จะลืมหน้าที่ของตนเองจนทำให้เกิดความขัดแย้งกันในภาคีสมาชิก การตัดสินใจที่คณะกำลังจะดำเนินการในไม่กี่นาทีข้างหน้านี้ เป็นไปเพื่อไม่ยอมให้ใครใช้ข้ออ้างในการรุกเข้ามาในพื้นที่ที่เป็นอธิปไตย ของเรา

ที่ประชุมบรรจุวาระ ผมไม่มีทางเลือกครับ คงต้องถอนตัว ผมได้เคยพูดกับสื่อไทยไปว่า หากสังคมใดดำเนินการตามใจตนเอง ไม่คิดถึงกฎระเบียบที่ลงมติโดยสมาชิกแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ใดๆ ที่เราจะอยู่ในสังคมแบบนี้ กำลังแถลงต่อที่ประชุมครับ คณะผู้แทนพยายามเข้าใจ อธิบาย และอดทนรออย่างเต็มที่แล้ว ผมและคณะนำประเทศไทยถอนตัวจากการเป็นสมาชิกมรดกโลกแล้วครับทั้งนี้นายสุ วิทย์ได่นำหนังสือลาออกจากสมาชิกมรดกโลก แสดงต่อสื่อมวลชน http://t.co/nmsJWHKด้าน ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวทีเอ็นเอ็น ได้รายงาน ถึงการถอนตัวของประเทศไทย ว่า นายสุวิทย์ ได้ประกาศว่าประเทศไทยขอลาออกจากการเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก โดยให้เหตุผลว่าการที่คณะกรรมการมรดกโลก ได้นำมติวาระการประชุมที่กัมพูชาเสนอมานำเข้าสู่กระบวนการพิจารณา ซึ่งไทยยืนยันมาตลอดว่าเป็นการไม่ถูกต้อง หรือ สัญญาอาจจะทำให้ไทยสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดน ตรงนี้ไทยไม่เคยยอมรับ ขณะที่ประเทศไทยพยายามจะคัดค้านมาโดยตลอด แต่ในเมื่อจะเข้าสู่กระบวนการโหวต ไทยจึงต้องขอใช้สิทธิ์ ในการถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งถือว่าเป็นชาติแรกของโลก ที่ประกาศออกจากสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกอ่านรายงานการถอนตัวในที่ประชุม

วันนี้ การประชุมทั้งวันเป็นไปอย่างเคร่งเครียด จนเมื่อถึงจุดที่นายสุวิทย์ ประกาศลาออกนั้น ทุกชาติค่อนข้างตกใจเพราะว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งแรก และ ตอนนี้เป็นที่ยืนยันชัดเจนว่า ไทยเราประกาศลาออกจากการเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก และ มีผลโดยทันที ซึ่งขณะยังไม่ทราบท่าทีของกัมพูชาจะเป็นอย่างไร หลังจากกรรมการยืนยันนำเรื่องของกัมพูชาเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการมรดก โลก
ส่วนประเทศสมาชิกมีบรรยากาศค่อนข้างตกใจ กำลังกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของคณะกรรมการแต่ละคน แต่ผลของการลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลกนั้น ทำให้ไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการก็สิ้นสุดลงทันทียื่นหนังสือถอนตัวให้ยูเนส โกอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ นายสุวิทย์ ได้นำจดหมาย และแถลงให้ผู้สื่อข่าวฟัง ถึงมุมมองในการตัดสินใจ และรวมถึงบรรยากาศในห้องประชุม ยืนยันว่า เป็นการกระทำที่ได้ไตร่ตรอง และ ผ่านการศึกษาหารืออย่างรอบคอบ รวมถึงได้รับการอนุมัติจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว

พรรคร่วมรัฐบาล และพรรคร่วมฝ่ายค้าน


พรรคร่วมรัฐบาล และพรรคร่วมฝ่ายค้าน




สำหรับการจัดตั้งรัฐบาลโดย ว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกคนไทย “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”
เดินหน้าจัดตั้งรัฐบาล

โดยมีพรรคการเมืองเข้าร่วมรัฐบาลคือ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พรรคพลังชล และพรรคมหาชน
- พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส จำนวน 19 ที่นั่ง
- พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส จำนวน 7 ที่นั่ง
- พรรคพลังชล ได้ ส.ส จำนวน 7 ที่นั่ง
- พรรคมหาชน ได้ ส.ส จำนวน 1 ที่นั่ง
เมื่อรวมกับพรรคเพื่อไทย 265 ที่นั่ง ได้ 299 เสียงที่นั่ง ถือว่าเสถียรภาพเพียงพอที่จะรับใช้ประชาชน
ย้ำชัดอีกว่าไม่เอาพรรคภูมิใจไทย นอกจากนี้ ยังจะเร่งพลิกฟื้นเศรษฐกิจ แก้ปัญหาปากท้องของประชาชน โดยเฉพาะสินค้า ราคาแพง รวมถึงฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน และจะผลักดัน นโยบายของพรรคเพื่อไทยที่ได้ประกาศกับประชาชน
อย่าง ไรก็ตาม การจัดสรรโควต้ารัฐมนตรี ของพรรคเพื่อไทยจะใช้หลักสัดส่วน 10 ต่อ 1 ในส่วนของพรรคเพื่อไทยจะขอคุมกระทรวงหลักๆ ทั้งหมดเพื่อที่จะผลักดันนโยบายของพรรคให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งในส่วนโควต้าของกลุ่ม นปช.เนื่องจากเป็นคนที่มีภาพลักษณ์ดีที่สุดเข้ากับสื่อได้ดี
โดยกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงต่างประเทศจะใช้คนนอกพรรค

ส่วนฝ่ายค้านได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรครักประเทศไทย พรรครักษ์สันติ พรรคมาตุภูมิ

รายงานผลการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554



รายงานผลการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554

เนื่องจากการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงพลังหญิง และการตอนรับการทำงานของว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย ไทยอีนิวส์ทำการเช็คคราวๆ เกี่ยวกับตัวเลขของ สส. หญิงที่ได้รับเลือกเข้ามาครั้งนี้ ที่มีทั้งสิ้น 78 คน คิดเป็นสัดส่วน 15.6% ของจำนวน สส. 500 คน ที่ได้รับเลือกเข้ามาทั้งระบบบัญชีรายชื่อและระบบแบ่งเขต ทั้งนี้พรรคภูมิใจไทยมีสัดส่วน สส.​หญิงที่ได้รับเลือกเข้าสูงสุดด้วยสถิติ 29% ตามมาด้วยพรรคเพื่อไทย 16.6% และพรรคชาติไทยพัฒนา 14% ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์มีสส. หญิงที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามามีสัดส่วน 12.6% ของจำนวน สส. ทั้งหมดของพรรค

แม้ว่าบทบาทผู้หญิงทางการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจะโดดเด่นตลอดช่วงสองสามปี ที่ผ่านมา การเลือกตั้งปี 2554 นำ สส. หญิงเข้าสู่สภาได้เพียง 78 คน หรือเพียง 16 % ของจำนวน สส. ทั้งหมด ยังถือได้ว่าห่างไกลจากข้อเรียกร้องขององค์กรผู้หญิงที่อยากเห็น สส. หญิง มีจำนวนครึ่งหนึ่งของจำนวน สส. ทั้งหมดในสภาผู้แทนราษฎร